Tuesday, February 28, 2012

เรื่องของความเร็วชัตเตอร์

ควบคุมแสงด้วย speed shutter

บทนี้จะออกวิชาเกินเล็กน้อยนะครับ  แต่ถ้าเข้าใจแล้วจะสร้างสรรค์ภาพถ่ายได้อีกเยอะแยะเลยครับ

Speed Shutter คือ ระยะเวลาที่ม่านชัตเตอร์เปิดจนกระทั่งปิดสนิท (เพื่อให้แสงสัมผัสกับเซ็นเซอร์) มีหน่วยเป็นวินาที ถ้าเราพูดกันว่า speed Shutter 100 นั่นหมายถึง Speed Shutter 1/100 วินาที ซึ่งเป็นเวลาที่เร็วมาก แต่ถ้าต้องการเปิดม่านชัตเตอร์นาน ๆ เช่น 2 วินาที เราก็มักจะเขียนหรือพูดว่า เปิดหน้ากล้อนนาน 2 วินาที หรือเขียนว่า 2" ในความเป็นจริงการจะควบคุมแสงได้นั้น จะต้องมี ขนาดของรูรับแสง (Aperture) และ ความไวแสง (ISO) เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย (เดี๋ยวจะเขียนถึงในบทต่อ ๆ ไป)


Speed Shutter กับ Stop

อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องรู้คือ หน่วยวัดของแสงที่ใช้กับการถ่ายภาพนั้น เราใช้หน่วยเป็น สต็อป (Stop) ซึ่งเป็นหน่วยเรากำหนดขึ้น ทำให้สามารถเปรียบเที่ยบค่าของแสงที่เปลี่ยนไป ของ ความเร็วชัตเตอร์, ของค่าความไวแสง หรือ ของขนาดรูรับแสง ในบทนี้เราจะมาลองดูกันครับว่าการเปรียบเทียบ หนวยวัดแสงเป็น สต็อป กับความเร็วชัตเตอร์นั้น เป็นอย่างไร
speed shutter and Stop

สมมติ
ว่าเรากำหนดความเร็ว เริ่มต้นของ Speed Shutter เป็น 200 (หรือ 1/200 วินาที) จากรูป จะเห็นว่า จาก speed shutter 200 (1/200 วินาที) ถ้าเราปรับ speed shutter เป็น 400 (1/400 วินาที ม่านชัตเตอร์เปิดปิดเร็วขึ้น) ค่าแสงจะลดไป 1 stop และ ถ้าจาก speed 200 --> 1600 เท่ากับว่าค่าแสงจะลดลง ไปถึง 3 stop เลยทีเดียว ถ้าเราสังเกตุจะเห็นว่า ทุก ๆ 1 stop ที่เปลี่ยนแปลงไป จะมีค่าเป็น สองเท่า ของ speed shutter ก่อนหน้านั้นเลยทีเดียว เช่น 200 --- > 400 ---> 800 ---> 1600 ถ้าเราอยากเพิ่มแสง หรือให้ภาพสว่างขึ้น เราก็ต้องลดความเร็วของ speed shutter ลง ซึ่งวิธีการเหมือนกันเลย โดยเมื่อเพิ่มแสง 1 stop จะเป็นการลดความเร็วชัตเตอร์ลงทีละครึ่งนั่นเอง เช่น ตอนนี้ speed shutter อยู่ ที่ 200 ต้องการให้เพิ่มแสง อีก 2 stop (ภาพสว่างขึ้น) เราก็ต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลงตามนี้ 200 ===> 100 ===> 50 ก็จะได้ speed shutter ที่ 50 ซึ่งถือเป็นการเพิ่มแสง 2 stop นั่นเอง

การแพนกล้อง,การแสดงเจ็ตสกี ในงาน อุดรโลก ปี 2555 อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
การแสดงเจ็ตสกี ในงาน อุดรโลก ปี 2553 อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี
เป็นการแพนกล้อง (ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ๆ ถ่ายวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว)
สงกรานต์ อุดรธานี ปี 2553
สงกรานต์ อุดรธานี ปี 2553 เป็นภาพที่ใช้สปีดชัตเตอร์สูง แต่เม็ดน้ำก็ยังมีความเร็วที่มากกว่า
เลยเห็นเป็นเส้นสั้น ๆ 

นอกจากนี้แล้ว speed shutter ที่มีความเร็วสูง ก็ยังทำให้เราสามารถถ่ายภาพได้นิ่งขึ้นเพราะชัตเตอร์เปิดปิดได้เร็วมากนั่นเอง ในทางตรงข้ามชัตเตอร์ที่เปิดปิดช้าหรือเรียกว่า slow shutter ก็จะเป็นต้องมีการถือกล้องที่ถูกวิธี หรือมีอุปกรณ์ที่ช่วยเช่นขาตั้งกล้อง ถึงจะทำให้ได้ภาพที่ชัดเจน

แถมอีกนิด
  • ถ้าเพื่อน ๆ ใช้เลนส์มุมกว้าง จะได้ภาพชัดได้ง่ายกว่าเลนส์ที่ซูม ในสภาพแสงแบบ Low light อันนี้ลองแล้ว ก็ปรากฏว่าเป็นเรื่องจริงนะครับ
เรื่องของ Speed Shutter กับ การถ่ายภาพนั้น เป็นเรื่องที่สามารถนำไปต่อยอดได้มากมายในการถ่ายภาพสวย ๆ ของเพื่อน ๆ ให้สร้างสรรค์และมีชีวิตชีวา เช่นการถ่ายภาพ พลุ ภาพน้ำตก ภาพคนวิ่ง หรือไลท์เพนท์ติ้ง

สงกรานต์ อุดรธานี 2553



1 comment: