Thursday, February 23, 2012

เข้าใจ และควบคุม white balance

เข้าใจ และควบคุม white balance
SpectrumWB ก่อนจะพูดถึงการควบคุม White Balance ขออธิบายเรื่องพวกนี้นิดนึงนะจ๊ะ

แสงที่มองเห็นมีหลายสี

แสงที่เราเห็นนั้น เกิดจากแสง (เอาเฉพาะที่มองเห็นนะ) ที่มีเจ็ดสีเจ็ดความยาวคลื่น ผสมกันอยู่ เลยเห็นเป็นสีขาว เราคงเคยเห็นรุ้งกินน้ำ (น่าจะตัวใหญ่นะ เห็นกินมาตั้งแต่เด็กแล้ว) , เห็นจากการทดลองที่เอาแสงผ่านผลึกแก้วทรงสามเหลี่ยม แล้วได้แสงแยกออกมาเป็นเจ็ดสีเจ็ดแถบ อุ้ยพิพม์ไป พิมพ์มาไปนึกถึงเกราะ 7 สี มณีเจ็ดแสง วู้วววว


แสงสีกับช่วงเวลาของวัน

ช่วงเวลาของแต่ละวันเราก็จะเห็นว่าท้องฟ้าสีไม่เหมือนกัน หรือแสงที่สองมาถึงเราก็มีสีต่าง ๆ กัน ซึ่งก็อธิบายได้ด้วยการหักเหของแสงผ่านชั้นบรรยากาศโลกในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีระยะทางที่แตกต่างกัน (เพราะโลกหมุนรอบตัวเอง) อีกทั้งในแต่ละวันส่วนผสมของชั้นบรรยากาศก็แตกต่างกันไปด้วย จึงทำให้ท้องฟ้าในแต่ละวัน แต่ละช่วงเวลามีสีแตกต่างกันไปนั่นเอง

อุณหภูมิแสง

แผนภาพเปรียบเทียบอุณหภูมิสีกับแหล่งกำเนิดอื่น ๆเชื่อไหมแสงที่เราเห็นมีหน่วยวัดด้วยนะ เป็นอุณหภูมิสี มีหน่วยเป็นเคลวิน (Kelvin) ที่มาที่ไปก็เกิดจากเมื่อก่อนโน้นน นักวิทยาศาสตร์ได้ทดลองเอาแร่ชนิดหนึ่ง (ห้ามถามว่าแร่อะไรนะ ) ไปเผาแล้วที่แต่ละอุณหภูมิที่เผา (เป็นหน่วยเคลวิน) มันดันให้สีเสป็คตรัมที่แตกต่างกัน จึงเป็นที่มาของการเรียกอุณหภูมิสีเป็นเคลวินนั่นเอง

แหล่งกำเนิดแสงอื่น ๆ

พวกหลอดไฟต่าง ๆ ที่เราเห็นเราใช้ นั้นก็ให้แสงสีต่าง ๆ กัน ตามชนิดของไส้และชนิดของก๊าซที่บรรจุอยู่ ดังนั้น หลอดไฟแต่ละชนิดก็ให้สีแตกต่างกันไป

การควบคุม White Balance

เวลาเราไปถ่ายรูปจะเห็นว่าบางครั้งได้ภาพติดแดง ติดส้ม อมเหลือง อมฟ้า แบบไม่ถูกใจควบคุมไม่ได้ นั่นเกิดจากแหล่งกำเนิดแสงแต่ละชนิดนั่นเอง (ดูจากแผนภาพข้างบนพู้น) เค้าก็เลย คิดวิธีแก้ขึ้นมา นั่นคือ Photoshop :twisted: (ถ่ายมาพันกว่ารูปแล้วต้องมานั่งแก้กันละก็ตายพอดี 5 5 ) ล้อเล่นครับ เค้าใช้ฟิลเตอร์สีมาช่วยมาช่วย (ตรงนี้ถือเป็น concept ของบทนี้เลยนะครับ)
  • ถ้าภาพอมเหลืองมากแก้ด้วยการใช้ฟิลเตอร์สีฟ้า
  • ถ้าภาพอมฟ้ามากแก้ด้วยการใช้ฟิลเตอร์สีเหลือง
"**แล้วจะแก้ White Balance ไปทำไม ??? 
ในงานถ่ายภาพบางอย่างเราก็ต้องการความถูกต้องของสีสัน เช่น ภาพถ่ายอาหาร ภาพถ่ายสินค้า เพื่อให้ลูกค้า ได้เห็นสีสันที่ตรงจริงของสินค้าหรือชิ้นงานที่นำเสนอ 
หรือแม้แต่ภาพสาว ๆ ถ้าถ่ายมาแล้วกระดำกระด่าง ก็คงไม่น่าดูใช่ไหมครับ" แต่ก็ต้องพิจารณาภาพด้วยนะครับว่าต้องการจะสื่อสารอะไร บางภาพเราอาจจะต้องการเก็บบรรยากาศด้วย การไปแก้ไวท์บาลานซ์เลยซะทีเดียวก็อาจจะทำให้อารมณ์ภาพนั้นเปลี่ยนไปได้
ภาพเปรียบเทียบแสดงการแก้ไว้บาลานซ์

สำหรับกล้องดิจิตอลเกือบทุกรุ่นในปัจจุบันจะมีฟิลเตอร์แบบดิจิตอลมาให้ในกล้อง ซึ่งพวกเราชอบเรียกว่าการตั้ง White Balance นั่นเองครับ White Balance ในกล้องดิจิตอลมีมาเพื่อแก้สีให้เป็นตามที่ต้องการครับ โดยจะเป็นมีการตั้งค่าเป็นสามแบบ
  1. Auto White Balance กล้องจะปรับตั้งค่าให้เราอัตโนมัติ ซึ่งทุกวันนี้หลาย ๆ ท่านก็ใช้ค่านี้กันอยู่โดยไม่รู้
  2. ใช้ค่าสำเร็จรูป
  3. Manual White Balance ; ตั้งค่าเองในหน่วยเคลวิน
  4. Custom White Balance เป็นการตั้งค่า White Balance manual อีกแบบหนึ่ง เหมาะกับการถ่ายภาพที่แสงสีคงที่เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ซึ่งมักจะทำได้ในกล้องรุ่นสูง ๆ เช่น NikonD90, NikonD300 ยี่ห้ออื่นก็ทำได้หลายรุ่นครับ พอดีไม่มีข้อมูล หรือบางครั้ง ก็ใช้ร่วมกับ อุปกรณ์พิเศษพวกฝาครอบเลนส์ สำหรับตั้งสมดุลแสงขาว
Auto white Balance Auto White Balance กล้องจะตั้งค่าให้เองอย่างเหมาะสมกับสภาพแสงนั้น ๆ แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น สภาพแสงผมส, ภาพติด uder เป็นต้น
Tungsten ใช้สำหรับแก้ White Balance ที่มีแหล่งกำเนิด เป็นหลอดไส้ ให้แสงโทนสีส้ม กล้องจะทำการเติมสีฟ้าเข้าไป เพื่อแก้แสงส้มจากหลดไฟ
Fluoresence ใช้สำหรับแก้ White Balance ที่มีแหล่งกำเนิดจากหลอด Fluoresence (หลอดผอมหรือ หลอดตะเกียบ) ตัวผมเอง เลือกใช้ตามความเหมาะสม เนื่องด้วยปัจุบัน หลอด Fluoresence มีหลายแบบและมีทั้ง Cool White (ออกเป็นแสงขาวเลย) หรือ Warm White (ออกเป็น warm tone สีเหลืองอ่อน เหมาะกับการอ่านหนังสือนะจ๊ะ)
Flash ใช้กับภาพที่ใช้แสงแฟลชเป็นหลักในการถ่ายภาพ โดยปรกติ แสงแฟลชเองจะออกสีเหลืองอ่อน ๆ อยู่แล้วการแก้ไขก็แค่ใช้ฟิลเตอร์สีฟ้าอ่อน ๆ มาแก้นั่นเอง
Daylight เหมาะสำหรับถ่ายภาพในสภาพแสงพอเพียงปรกติ
Cloudy ใช้ในการถ่ายภาพในสภาพแสงที่มีเมฆบดบังดวงอาทิตย์ โดยการเติมสีส้มเข้าเพื่อทำให้ภาพที่มีโทนฟ้ากลายเป็นสีที่ถูกต้อง
Shade ใช้ในการถ่ายภาพในสภาพแสงที่อยู่ในร่มซึ่งมีโทนสีฟ้ามากว่าแบบ cloudy โดยการเติมสีส้มลงไปในภาพ
** จริง ๆ คำว่าเติมสีลงไป นั่นแทนคำพูดของคำว่า การใช้ ฟิลเตอร์ดิจิตอล นั่นเอง   เลือกใช้ตาม

สะดวกครับ โดยอยู่บนหลักการ แก้เหลืองเติมฟ้า // แก้ผ้า เอ้ยแก้ฟ้าเติมเหลือง การใช้ White Balance ในการสร้างสรรค์ภาพ เราก็ไม่ได้ใช้ white balance เพื่อแก้ไขสีภาพเท่านั้นนะครับ แต่เรายังสามารถนำหลักการใช้ฟิลเตอร์สีมาประยุกต์กับการเพิ่มสี เติมอารมณ์ในภาพถ่ายได้อีกด้วย เช่น
  • การใช้ White Balance แบบ Tungsten เพื่อเพิ่มโทนสีฟ้าเข้าไปในภาพเพื่อให้่ท้องฟ้ายามเย็นมีสีฟ้าเข้มมากขึ้น หรือ
  • การใช้ White Balance แบบ Shade เพื่อเพิ่มโทนสีส้มเข้าไปในภาพเพื่อให้่ท้องฟ้ายามเย็นมีทองชัดเจนขึ้น
ยามเย็น ณ หนองประจักษ์ อุดรธานี
ยามเย็นที่หนองประจักษ์ อุดรธานี
พระมหาธาตุแก่นนคร บึงแก่นนคร ขอนแก่น
แสงจากสวรรค์
พระมหาธาตุแก่นนคร บึงแก่นนคร จังหวัดขอนแก่น
ขอให้ขอสนุกกับการถ่ายภาพนะครับ มีอะไรสงสัยก็พิมพ์ถามไว้ด้านล่างเลยครับ สัญญาว่าจะตอบทุกคำถามครับผม ^_^




0 comments:

Post a Comment