Thursday, February 16, 2012

วิธีการถ่ายภาพให้ฉากหลังเบลอ

วิธีการถ่ายภาพให้ฉากหลังเบลอ
(เน้นเอาไปใช้งานนะครับไม่เน้นวิชาการ)

ภาพชัดตื้น
สวัสดีจ้า ไม่ได้เขียนหัวข้อการถ่ายภาพหลายวันแล้ว วันนี้เลยมาเขียนเรื่องการถ่ายภาพให้หลังเบลอแล้วกัน แล้วทำไมเอาหัวข้อนี้ละ ก็เพราะว่าวันนี้ตอนเย็นหยิบกล้องออกไปถ่ายดอกไม้มาครับ ดูรูปแล้วหลังมันละลายดีเลยเอาเรื่องนี้เลยแล้วกัน ที่จะเล่าให้ฟังวันนี้ จะพูดให้ครอบคลุมทั้งกล้องมือถือกล้องคอมแพ็ค กล้อง DSLR เลยนะครับ อ่านกันได้ไหมแหละ ไอ้การที่เราถ่ายภาพหน้าชัดหลังเบลอมาเนี่ยมันจะทำให้ภาพที่เราได้ดูมีมิติมากขึ้น ตัวแบบน่าสนใจมากขึ้น เอาเป็นว่าถ่ายออกมาแล้วน่ามองนะครับ แต่ก็ต้องเลือกให้ถูกด้วยนะครับ ไม่ใช่ว่าไปเที่ยวเสาชิงช้า แต่ถ่ายมาคนชัดเสาชิงช้าเบลอจนดูไม่ออกว่าเป็นเสาชิงช้า แล้วจะไม่รู้เอานะว่าไปไหนมา ^__^



การถ่ายภาพให้หน้าชัดหลังเบลอมีองค์ประกอบอะไรบ้างน้า............. (อยากแรกเลยเพื่อนต้องโฟกัสให้ชัดก่อนนะ ไม่งั้นมันจะไปชัดที่อื่น :) อิอิ )

ก่อนอื่นขอแนะนำคำว่า ระยะชัด หรือ Depth of Field ตรงตัวเลยครับมันคือระยะ ที่ภาพมีความชัด ดูภาพผีเสื้อก็ได้ครับ จะเห็นว่าใบไม้ที่ผีเสื้อเกาะ จากใบที่อยู่ใกล้คนดู ตัวผีเสื้อ เลยตัวผีเสื้อไปหน่อย ยังคงมีความคมชัด ไอ้ระยะทางตรงนี้แหละครับ เรียกว่าระยะชัด ถ้ามันน้อย ๆ อย่างภาพข้างบนเค้าก็เรียกว่าชัดตื้น ถ้ามันชักเยอะ ๆ เค้าก็เรียกว่าชัดลึก ดังภาพด้านล่างนะครับ
ภาพชัดลึก
ภาพทุ่งนาแถวบ้านผมเองครับถ่ายเมื่อปีที่แล้ว จะเห็นว่า ภาพนี้จะมีระยะชัดเยอะมาก คือจากกอข้าวไปไกลจนถึงเสาไฟฟ้าแรงสูงต้นที่สามเลยทีเดียว ที่มองเห็นแค่นั้นเพราะหมอกลงนะครับ ^_^
ต่อไปลองมาดูว่าแล้วอะไร ที่จะมากำหนดให้ภาพมีความชัดตื้นและชัดลึกกัน

1. ความลับฝ่ายอุปกรณ์
      1. ขนาดของรูรับแสง (Aperture Size)
        • รูรับแสงขนาดใหญ่ (ตัวเลขน้อย), กว้าง ยิ่งทำให้ภาพชัดตื้นคือหลังเบลอนั่นเอง
        • รูรับแสงขนาดเล็ก (ตัวเลขเยอะ), แคบ ยิ่งทำให้ภาพชัดลึก (มีระยะชัดมาก หรือชัดไปจนถึงฉากหลัง) ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างขนาดรูรับแสงกับระยะชัด
      2. ระยะโฟกัส หรือช่วงของเลนส์ (Focus or Zoom)
        • อธิบายง่าย ๆ คือยิ่งซูม ระยะชัดจะลดลง กล่าวคือ ฉากหลังจะเบลอมากขึ้นนั่นเอง
        • เลนส์มาโครนั้นจะมีระยะชัดตื้นมาก ไม่ต้องซูมก็จะแสดงอาการชัดติ้นให้เห็นอยู่แล้วครับ
      3. ขนาดเซ็นเซอร์ (Sensor Size)
        • เซ็นเซอร์ใหญ่ ทำภาพหลังเบลอได้ง่ายกว่า เซ็นเซอร์ขนาดเล็ก (เซ็นเซอร์ใหญ่ ๆ ก็พวกกล้อง Full Frame เซ็นเซอร์ขนาดเล็กก็พวกกล้องคอมแพ็คกล้องมือถือ)
2. ความลับอยู่ที่ระยะทาง
ในส่วนการควบคุมระยะทางนี้สามารถนำไปใช้กับกล้องได้เกือบทุกแบบทุกรุ่น เพราะปัจจัยเรื่องระยะทางนั้นเป็นเรื่องของหัวใจ :) ตามนั้นจริง ๆ ครับ เพราะถ้าเราอยากได้เราก็จะหาทางทำครับ (ว่าไปนั่น)
สิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ระยะทางในการควบคุมภาพให้มีความชัดตื้น หรือชัดลึก
  1. ระยะทางจากกล้อง ถึงตัวแบบ ขอเรียกว่า ระยะ A
  2. ระยะทางจากตัวแบบไปฉากหลัง ขอเรียกว่าระยะ B (ปล.จะเห็นว่าไม่มีระยะทำใจนะครับ)
มีแค่สองอย่างจริง ๆ ครับ ทีนี้มาดูกันครับว่าใช้อย่างไร

การจะได้ภาพที่หน้าชัดหลังเบลอ แบบง่าย ๆ เลยนั้นทำได้ไม่ยากครับ
  1. ปรับกล้องไปโหมดถ่ายภาพบุคคล อย่างของ Sony เห็นว่ามีโหมดนี้อยู่ครับ
  2. ทำให้ระยะระหว่างกล้องกับตัวแบบใกล้กันมากที่สุด (เดินเข้าหาตัวแบบหรือให้แบบเดินเข้าหาเรา ^_^)
  3. ทำให้ระยะของตัวแบบกับฉากหลังไกลมากที่สุด (ให้แบบเดินเข้าหาเรา หรือหาฉากหลังใหม่)
ถ้าทำตามนี้แล้วจะช่วยให้ได้ภาพที่มีฉากหลังที่เบลอขึ้น แต่จะเบลอขนาดไหนนั้น ต้องไปดูที่ความลับฝ่ายอุปกรณ์กันครับ ^_^
ถ้าแบบไม่ใช่คนก็ไม่ต้องเรียกนะครับ จัดเองเลย 5 5 5 5


3 comments:

  1. โหไม่ได้เข้ามาไม่กี่วันหน้าบล๊อคเปลี่ยนไปตั้งเยอะนะเนี่ย ^^
    มีเครื่องไม้เครื่องมือ เพิ่มขึ้นเนอะ เจ๋งจริงๆพี่เรา 555+

    สำหรับบทความนี้เป็นอีก 1 บทความที่ถูกใจคะ
    วันนี้มีเรื่องมาขอละน้าาาาาา
    1.อยากได้เทคนิคการถ่ายภาพ พาโนรามา จนไปถึงการนำภาพมาตัดต่อและเอาไปล้างเลยคะ
    2.แล้วก็การเลือกใช้เลนส์ กับภาพแบบต่างๆคะ หุๆๆๆ หางานมาให้แล้วนะคะ

    ขอบคุณล่วงหน้าคะ ^^

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณมากเลยที่แวะมาเม้นมาทักทายกัน
      เดี๋ยวจะสรุปมาให้นะครับ คงจะเป็นเรื่องการเลือกเลนส์ก่อนนะครับ ^__^

      Delete
  2. This is really nice to read content of this blog. A is very extensive and vast knowledgeable platform has been given by this blog. I really appreciate this blog to has such kind of educational knowledge.
    Animation 2D/3D

    ReplyDelete